หมายความว่าไง!?!…”ธัมมชโย”ไม่เคยเข้าร่วมพระราชพิธีพระราชทานสมณศักดิ์ แต่จัดงานใหญ่กันเองกับ”สมเด็จช่วง” สู่จุดจบบรมราชโองการของร.10(รายละเอียด)

loading... ย้อนกลับไป เมื่อปี 2558 ได้มีบทความบทหนึ่งในเว็บไซด์ของ ผู้จัดการออนไลน์ ได้ยกกระทู้หนึ่งในเว็บไซด์พันทิปที่ได้ตั้งคำถา...


loading...
ย้อนกลับไป เมื่อปี 2558 ได้มีบทความบทหนึ่งในเว็บไซด์ของ ผู้จัดการออนไลน์ ได้ยกกระทู้หนึ่งในเว็บไซด์พันทิปที่ได้ตั้งคำถามถึงกรณีธัมมชโยว่าทำไมไม่ไปร่วมพระราชพิธีรับพัดยศเลื่อนสมณศักดิ์ในพระบรมมหาราชวังเมื่อปี 2554  และยังไม่ไปถวายพระพรสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร ช่วยไขความกระจ่างตีแผ่การเมืองในมหาเถรสมาคมแบบเด็กใครสายมัน ราชาคณะยุคใหม่มีเส้นสายกับนักการเมืองในทำเนียบรัฐบาลก็สามารถแยกวงรับเอง ฉีกราชประเพณีได้ และการแต่งตั้งยุคใหม่เป็นเรื่องของฝ่ายสงฆ์เสนอไปจึงปรากฏมีการวิ่งเต้น ใช้เงินทองซื้อตำแหน่งก็มี


ระหว่างที่สังคมให้ความสนใจต่อประเด็นข้อปัญหาวัดธรรมกายขึ้นมาอีกรอบในระหว่างหลายวันนี้ ได้มีการแชร์กระทู้ในเว็บไซต์พันทิปตั้งคำถามพฤติกรรมความไม่เหมาะสมของพระธัมมชโย (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย) เจ้าอาวาสวัดธรรมกายเมื่อครั้งได้รับเลื่อนสมณศักดิ์จากพระราชภาวนาวิสุทธิ์เป็นพระเทพญาณมหามุนีเมื่อปี พ.ศ.2554 ซึ่งส่อว่าจงใจไม่ไปร่วมพระราชพิธีที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เป็นผู้แทนพระองค์พระราชทานถวายสัญญาบัตรพัดยศซึ่งกำหนดจัดขึ้นที่พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยในพระบรมมหาราชวัง จากนั้นก็ยังไม่ไปร่วมพิธีถวายสักการะอวยพรสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชในขณะนั้นด้วย


กสืบพันทิปผู้เขียนกระทู้ใช้นามว่า “ราชมัล” ตั้งชื่อกระทู้ว่า “พระเทพญาณมหามุนี วัดพระธรรมกาย สงฆ์ผู้พลิกหน้าประวัติศาสตร์คณะสงฆ์ไทย” เขียนไว้เมื่อ 7 เมษายน 2555 หลังจากเหตุการณ์ที่ธัมมชโยไม่ไปร่วมพระราชพิธีในพระมหาราชวังราว 4 เดือน มีใจความสรุปว่า ปกติของราชประเพณีทรงตั้งและเลื่อนสมณศักดิ์สงฆ์ในรัชกาลนี้กำหนดจัดเป็นประจำในวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี แต่เดิมพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเสด็จไปพระราชทานด้วยพระองค์เองหรืออาจมอบผู้แทนพระองค์ที่มักเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเสด็จแทนและกำหนดจัดที่พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยเป็นประจำ

ประเพณีที่ปฏิบัติสืบกันมาเมื่อพระราชาคณะที่ได้รับเลื่อนสมณศักดิ์รับพระราชทานพัดยศและตราตั้งแล้วในวันรุ่งขึ้นคือวันที่ 6 ธันวาคมจะพร้อมกันไปสักการะสมเด็จพระสังฆราช (ในขณะนั้นคือสมเด็จญาณสังวรฯ) กำหนดการที่สำนักงานพระพุทธศาสนาได้แจ้งไว้คือให้ไปที่อุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร


ในปีพ.ศ. 2554 เป็นปีที่ พระธัมมชโย ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯพระราชทานสมณศักดิ์เลื่อนจาก พระราชภาวนาวิสุทธิ์ ขึ้นเป็น พระเทพญาณมหามุนี ปรากฏในบัญชีรายชื่อแต่งตั้งสมณศักดิ์ลำดับที่ 11 (ตามภาพประกอบ) แต่ปรากฏว่าไม่มีผู้พบเห็นธัมมชโยไปร่วมงานพระราชพิธีทั้งที่ในพระบรมมหาราชวัง และยังไม่ไปร่วมพิธีสักการะสมเด็จพระสังฆราชเหมือนกับราชาคณะรูปอื่นๆ


ความผิดปกติอย่างยิ่งของเรื่องนี้คือ ในวันที่ 7 ธันวาคม 2554 เพียง 2 วันให้หลังวันพระราชพิธีกลับปรากฏว่าธัมมชโยได้ปรากฏตัวในงานรับมอบพัดยศเลื่อนสมณศักดิ์ซึ่งจัดขึ้นโดยสำนักงานพระพุทธศาสนา โดยมีสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (สมเด็จวัดปากน้ำ ช่วง วรปุญฺโญ) พระอาจารย์และพระอุปัชฌาย์ของธัมมชโยเป็นผู้มอบให้แทนท่ามกลางพิธีกรรมที่จัดอย่างยิ่งใหญ่สวยงาม


“ราชมัล” ผู้ตั้งกระทู้รู้สึกว่านี่เป็นสิ่งที่ผิดปกติมากที่ราชาคณะรูปหนึ่งซึ่งได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์แต่กลับหายตัวไม่ไปร่วมพระราชพิธีแต่กลับแยกมาจัดงานเองในอีกสองวันถัดมา หากจะอ้างว่าอาพาธหนักไปร่วมพระราชพิธีและไปถวายสักการะพระสังฆราชไม่ได้ แต่ภาพถ่ายที่เผยแพร่ก็ยังผ่องใสดูแข็งแรงดี


ความผิดปกติยังรวมไปถึงการตั้งคำถามต่อสำนักงานพระพุทธศาสนาที่จัดงานนี้ขึ้นว่าเป็นเพราะอิทธพลทางการเมืองของนางลีลาวดี วัชโรบล เลขานุการกรรมาธิการศาสนาศิลปวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎรในขณะนั้นเป็นผู้ประสานจัดให้โดยไม่มีธรรมเนียมหรือกฎหมายรองรับหรือไม่ ?

“ราชมัล” ได้ตั้งข้อสังเกตถึงความผิดปกติรวม 4 ข้อสรุปความได้ดังนี้

ข้อแรก – การที่สมเด็จวัดปากน้ำไปเป็นประธานมอบพัดยศเลื่อนสมณศักดิ์ให้กับธัมมชโยถูกต้องดีแล้วหรือ เพราะยังไม่มีมติมหาเถรสมาคมให้ส่งผู้แทนไปถวายพัดยศ สัญญาบัตรให้กับพระเทพญาณมหามุนีถึงที่วัดพระธรรมกาย

ข้อที่สอง – ตั้งข้อสังเกตการทำงานของสำนักงานพระพุทธศาสนาซึ่งที่ถูกก็แค่นำพัดยศและสัญญาบัตรไปถวายให้ก็จบ เพราะทางสำนักฯ มีหน้าที่ต้องสนองพระราชศรัทธาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ องค์เอกอัคราชศาสนูปถัมภก ในเมื่อออกฎีกาแล้วพระสงฆ์ไม่มารับ ก็ต้องเอาไปถวายถึงที่ เพราะจะเก็บไว้ก็ไม่ได้ประโยชน์อันใด

ข้อที่สาม – ตั้งข้อสังเกตความลักลั่นของการจัดงานเพราะมันประหลาดที่สมเด็จวัดปากน้ำฯ ผู้เป็นประธานมอบไม่ได้มีสายบังคับบัญชาโดยตรง เป็นแค่พระอุปัชฌาย์ ราชมัลเขียนไว้ว่า “เพราะถ้าจะเอากันให้ตรงตามแบบแผน แม้จะมาลักลั่นเอาตอนนี้ ก็ต้องให้พระเดชพระคุณท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดสระเกศ ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช เป็นผู้มอบถวายให้ หรือไม่ก็เจ้าคณะใหญ่หนกลาง ซึ่งคือ สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ วัดพิชัยญาติการาม นั้นเอง ถึงจะถูกต้องตามสายการบังคับบัญชา”

ข้อที่สี่ – พบว่ามีการแทรกแซงจากฝ่ายการเมืองคือ จากเลขานุการกรรมาธิการศาสนาศิลปวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร (ลีลาวดี วัชโรบล) ให้สำนักงานพระพุทธศาสนาจัดงานถวายพัดยศ สัญญาบัตรที่แยกออกมาจากพระราชพิธีปกติ

ผู้สื่อข่าวสืบค้นปริศนาที่เกี่ยวข้องกับประเด็นกระทู้นี้ไปพบการสนทนาในเว็บบอร์ดของเว็บไซต์วัดพระธรรมกาย www.dhammakaya.org ซึ่งมีผู้ตั้งคำถามกรณีธัมมชโยไม่ไปร่วมพระราชพิธีวันที่ 5 ธันวาคม 2554 และไม่ไปถวายพระพรให้สมเด็จพระสังราชญาณสังวร โดยมีผู้เข้าไปตอบว่า

“ขออนุญาตตอนแทนนะครับ หลวงพ่อธัมมชโย ท่านไม่ได้ไปรับพระยศด้วยตัวท่านเองครับ ทราบว่าช่วงวันงานหลวงพ่อธัมมชโยท่านอาพาธหนักครับ” (อ้างอิง http://www.dhammakaya.org/forum/index.php?topic=916.20;wap2)



แม้ว่าทางฝ่ายวัดธรรมกายและสาวกจะพยายามนำเสนอแก้ต่างว่าการที่แยกออกมาจัดพิธีมอบพัดยศและสัญญาบัตรที่วัดธรรมกาย ไม่เข้าร่วมพระราชพิธีที่พระบรมมหาราชวังเป็นเพราะเหตุสุดวิสัยเพราะการอาพาธหนัก ก็ยังมีคำถามตามมาอยู่ดีว่าเหตุใดการจัดงานมอบพัดยศให้แก่ธัมมชโยวันนั้นจึงมีความพร้อมมีผู้เข้าร่วมจำนวนมากประกอบทั้งเจ้าหน้าที่ของสำนักงานพระพุทธศาสนาฯ และฝ่ายอื่นๆ ราวกับมีการเตรียมไว้ล่วงหน้า หากธัมมชโยฟื้นจากอาพาธหนักในเย็นวันที่ 6 ธันวาคม แสดงว่าประสิทธิภาพในการจัดงานของทุกฝ่ายไม่ว่าฝ่ายราชการและฝ่ายสงฆ์ช่างยอดเยี่ยมมากเพราะใช้เวลาประสานงานและเตรียมงานเพียงคืนเดียวเท่านั้น

ได้มีผู้สนใจเข้าไปถามตอบสนทนาต่อในกระทู้นั้นอย่างหลากหลาย จนที่สุดผู้ตั้งกระทู้ได้อธิบายว่าระบบการตั้งสมณศักดิ์ในปัจจุบันแม้จะสืบทอดมาแต่ก็ไม่เหมือนสมัยโบราณ เพราะทรงมอบให้ทางฝ่ายสงฆ์เสนอชื่อกันมาเอง และในยุคใหม่นี้มีระบบเส้นสายและเงินทองเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย

ราชมัลเขียนไว้ว่า “ในปัจจุบัน จริงๆไม่คิดว่าจะเป็นในปัจจุบันหรอกครับ น่าจะมีมานานแล้ว เรื่องการพิจารณาแต่งตั้งพระภิกษุผู้สมควรได้รับพระราชทานสมณศักดิ์นั้น โดยส่วนใหญ่ จะยึดหลัก “ดวง” คือ

ด = เด็กใครฯ หมายถึง เป็นพระที่อยู่ในการดูแลของใคร / ว = วิ่งเส้นไหน ? หมายถึง ขอสมณศักดิ์มากับพระผู้ใหญ่รูปใด / ง = เงินถึงหรือเปล่า ? หมายถึง พร้อมที่จะทุ่มหรือไม่

เป็นแบบนี้เสียส่วนใหญ่ เมื่อมีผลประโยชน์ก็มีการตอบแทน หลายต่อหลายครั้งที่พระหนุ่มๆ ก้าวหัวข้ามพระเถระที่อาวุโสขึ้นไปนั่งในตำแหน่งสูงๆ …. ดังนั้นคุณภาพ พระภิกษุผู้ได้รับคัดเลือกมารับพระราชทานสมณศักดิ์ก็ใช่ว่าจะการันตีได้ทุกรูปว่าท่านวัตรปฏิบัติ เหมาะสม ควรคู่กับสมณศักดิ์ที่ได้รับพระราชทานมา”

ขอบคุณ ผู้จัดการออนไลน์ , กระทู้ : “พระเทพญาณมหามุนี วัดพระธรรมกาย สงฆ์ผู้พลิกหน้าประวัติศาสตร์คณะสงฆ์ไทย” 

From: http://www.zocialx.com/20845/

You Might Also Like

0 comments